ยินดีต้อนรับ

ยินดีต้อนทุกท่านเข้าวสู่เว็บไซต์ของเรา

วันพุธที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2555


1
นางในวรรณคดีไทย : มโนราห์ จาก พระสุธน-มโนราห์
มโนราห์ จาก พระสุธน-มโนราห์
2
นางในวรรณคดีไทย : มัทนา จาก มัทนพาธา
มัทนา จาก มัทนพาธา
3
นางในวรรณคดีไทย : อันโดรเมดา  จาก วิวาห์พระสมุทร
อันโดรเมดา จาก วิวาห์พระสมุทร
4
นางในวรรณคดีไทย : ตะเภาทอง จาก ไกรทอง
ตะเภาทอง จาก ไกรทอง
5
นางในวรรณคดีไทย : ไอ่คำ  จาก ผาแดง-นางไอ่
ไอ่คำ จาก ผาแดง-นางไอ่
6
นางในวรรณคดีไทย : เพื่อนพี่แพงน้องสองสมร จาก พระลอ
เพื่อนพี่แพงน้องสองสมร จาก พระลอ
7
นางในวรรณคดีไทย : รจนา  จาก สังข์ทอง
รจนา จาก สังข์ทอง
8
นางในวรรณคดีไทย : ศกุนตลา  จาก บทละครรำ ศกุนตลา
ศกุนตลา จาก บทละครรำ ศกุนตลา
9
นางในวรรณคดีไทย : ละเวงวัณฬา จาก พระอภัยมณี
ละเวงวัณฬา จาก พระอภัยมณี
นางในวรรณคดีไทย : ลำหับ  จาก เงาะป่า
ลำหับ จาก เงาะป่า
นางในวรรณคดีไทย : ระเด่นบุษบา จาก อิเหนา
ระเด่นบุษบา จาก อิเหนา
นางในวรรณคดีไทย : ประทุมวดี  จาก ละครนอกเรื่องโสวัต
ประทุมวดี จาก ละครนอกเรื่องโสวัต
1
นางในวรรณคดีไทย : มโนราห์ จาก พระสุธน-มโนราห์
มโนราห์ จาก พระสุธน-มโนราห์
2
นางในวรรณคดีไทย : มัทนา จาก มัทนพาธา
มัทนา จาก มัทนพาธา
3
นางในวรรณคดีไทย : อันโดรเมดา  จาก วิวาห์พระสมุทร
อันโดรเมดา จาก วิวาห์พระสมุทร
4
นางในวรรณคดีไทย : ตะเภาทอง จาก ไกรทอง
ตะเภาทอง จาก ไกรทอง
5
นางในวรรณคดีไทย : ไอ่คำ  จาก ผาแดง-นางไอ่
ไอ่คำ จาก ผาแดง-นางไอ่
6
นางในวรรณคดีไทย : เพื่อนพี่แพงน้องสองสมร จาก พระลอ
เพื่อนพี่แพงน้องสองสมร จาก พระลอ
7
นางในวรรณคดีไทย : รจนา  จาก สังข์ทอง
รจนา จาก สังข์ทอง
8
นางในวรรณคดีไทย : ศกุนตลา  จาก บทละครรำ ศกุนตลา
ศกุนตลา จาก บทละครรำ ศกุนตลา
9
นางในวรรณคดีไทย : ละเวงวัณฬา จาก พระอภัยมณี
ละเวงวัณฬา จาก พระอภัยมณี
นางในวรรณคดีไทย : ลำหับ  จาก เงาะป่า
ลำหับ จาก เงาะป่า
นางในวรรณคดีไทย : ระเด่นบุษบา จาก อิเหนา
ระเด่นบุษบา จาก อิเหนา
นางในวรรณคดีไทย : ประทุมวดี  จาก ละครนอกเรื่องโสวัต
ประทุมวดี จาก ละครนอกเรื่องโสวัต
1
นางในวรรณคดีไทย : มโนราห์ จาก พระสุธน-มโนราห์
มโนราห์ จาก พระสุธน-มโนราห์
2
นางในวรรณคดีไทย : มัทนา จาก มัทนพาธา
มัทนา จาก มัทนพาธา
3
นางในวรรณคดีไทย : อันโดรเมดา  จาก วิวาห์พระสมุทร
อันโดรเมดา จาก วิวาห์พระสมุทร
4
นางในวรรณคดีไทย : ตะเภาทอง จาก ไกรทอง
ตะเภาทอง จาก ไกรทอง
5
นางในวรรณคดีไทย : ไอ่คำ  จาก ผาแดง-นางไอ่
ไอ่คำ จาก ผาแดง-นางไอ่
6
นางในวรรณคดีไทย : เพื่อนพี่แพงน้องสองสมร จาก พระลอ
เพื่อนพี่แพงน้องสองสมร จาก พระลอ
7
นางในวรรณคดีไทย : รจนา  จาก สังข์ทอง
รจนา จาก สังข์ทอง
8
นางในวรรณคดีไทย : ศกุนตลา  จาก บทละครรำ ศกุนตลา
ศกุนตลา จาก บทละครรำ ศกุนตลา
9
นางในวรรณคดีไทย : ละเวงวัณฬา จาก พระอภัยมณี
ละเวงวัณฬา จาก พระอภัยมณี
นางในวรรณคดีไทย : ลำหับ  จาก เงาะป่า
ลำหับ จาก เงาะป่า
นางในวรรณคดีไทย : ระเด่นบุษบา จาก อิเหนา
ระเด่นบุษบา จาก อิเหนา
นางในวรรณคดีไทย : ประทุมวดี  จาก ละครนอกเรื่องโสวัต
ประทุมวดี จาก ละครนอกเรื่องโสวัต

                                                        นางในวรรณคดีไทย : มโนราห์ จาก พระสุธน-มโนราห์
                                                        มโนราห์ จาก พระสุธน-มโนราห์
     มโนราห์, กินรีในสุธนชาดก เป็นธิดาพระเจ้าทุมราช และเป็นคู่รักกับสุธนกุมารแห่งอุตรปัญจาลนคร ต่อมา นางมโนราห์กลับชาติมาเกิดเป็นนางพิมพา และสุธนกุมารนั้นเป็นศากยมุนี มาครองคู่กันอีกครั้งหนึ่ง    มโนราห์, ศิลปะการแสดงพื้นเมืองอย่างหนึ่งของภาคใต้ มีแม่บทท่ารําอย่างเดียวกับละครชาตรี, โนรา ก็ว่า, เขียนว่า มโนห์รา ก็มี
มโนราห์, ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง
พระสุธน – มโนราห์ เป็นนิทานพื้นบ้านของไทย ที่นำมาจากชาดกได้นำมาเป็นวรรณคดีประกอบละครนอกใน สมัยอยุธยา เป็นเรื่องความรักแท้ที่ไม่ยอมแพ้แก่อุปสรรคใดๆ และตัวด้วยสัญญาแห่งความรักที่มั่นคง ถึงแม้จะต่างเผ่าพันธุ์ แต่อยู่ด้วยกันได้ ด้วยความเห็นอกเห็นใจเอื้ออาทรต่อกันระหว่างพระสุธน ซึ่งเป็นมนุษย์ กับนางมโนราห์ ซึ่งเป็นกินรี ที่พรานบุญจับมาถวาย ตอนเด่นของเรื่องเป็นตอนที่นางมโนราห์ ถูกกลั่นแกล้งใส่ความจนต้องถูกจับไปบูชายัญ แต่นางหลอกขอปีกขอหางบินหนีรอดไปได้ เมื่อพระสุธนกลับมารู้ข่าวก็รีบตามนางไปแม้หนทางนั้นจะยากลำบาก ในที่สุดก็สามารถตามนางคืนมาได้
๑. บทบาทของนางมโนราห์
                ๑.๑ การดำเนินเรื่อง
                       นางมโนราห์เป็นตัวดำเนินเรื่องที่สำคัญที่สุด  นาง นั้นเป็นนางเอกของเรื่อง และเรื่องก็เกิดจากนางที่ถูกพรานบุญจับตัวมาถวายแก่พระสุธน และนางยังถูกคนที่ไม่ชอบกลั่นแกล้งอีก จึงทำให้คนรักต้องออกตามหาแล้วในที่สุดก็อยู่อย่างมีความสุข
                ๑.๒ ชะตาชีวิตของนางมโนราห์
                            นางมโนราห์ มีชะตาชีวิตที่น่าสงสารตั้งแต่เริ่มที่ถูกพรานบุญจับตัวมา นางต้องพลัดพรากจากบิดามารดา แล้วยังต้องพลัดพรากจากชายผู้เป็นที่รัก ถือว่านางต้องมีความทุกข์ก่อนที่จะมีความสุข
๒.รูปโฉมของนางมโนราห์
                   มโนราห์เป็นหญิงสาวที่มีโฉมงดงาม ดังที่กวีได้กล่าวชื่นชมความงามของนางมโนราห์โดยผ่านนางจันทเทวีว่า
                                                 "  พระองค์สองกษัตรา                 มีโสมนัสเสน่หา
                                                   พิศโฉมมโนห์รา                     ยิ่งหยาดฟ้าลงมาดิน
                                                   สมเด็จพระเจ่าแม่                   ตั้งตาแลเร่งถวิล
                                                   ดังจะกล้ำกลืนกิน                   โฉมเฉิดฉินพ้นพรรณนา
                                                   ตรัสถามถึงเค้ามูล                   นางกราบทูลแต่หลังมา
                                                   ได้ฟังพระวาจา                       สุรเสียงเพระชอบพระทัย
                                                   แสนสวาทของมารดา               ปลื้มวิญญาณ์ยอดพิสมัย
                                                  เชิญองค์อรทัย                       เข้ามาใกล้ลูบปฤษฎางค์
                                                  พิศเพ่งผิวพักตรา                     วรกายาลักษณะนาง
                                                  พระองค์ทรงสำอาง                  ผิวเปรียบยังดอกมณฑา
                                                  รูปร่างนางที่สุด                      ล้ำมนุษย์เลิศเลขา
                                                  สมเด็จพระมารดา                   ชมกัลยาไม่อิ่มใจ"
(สมาคมศิษย์เก่าวิทยาลัยครูเพชรบุรี, หน้า ๔๙)
๓. ลักษณะนิสัยของนางมโนราห์
๓.๑ ความรัก และความสัตย์
๓.๒ ความกตัญญูของนางมโนราห์
๓.๓ การรู้จักให้อภัยของนางมโนราห์
๓.๔ ความรักนวลสงวนตัวของนางมโนราห์
๓.๕ ความอ่อนน้อมถ่อมตนของนางมโนราห์
๓.๖ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ของนางมโนราห์
๔. สติปัญญา ความสามารถของนางมโนราห์
                ๔.๑ สติปัญญา (มีเหตุผล)
                        เห็นได้จากพฤติกรรมของนางมโนราห์ดังตอนที่นางมโนราห์ได้หาเหตุผลมาหว่านล้อมพรานบุญเพื่อให้ปล่อยตน
                ๔.๒ สติปัญญา (เฉียบแหลม)
                          นางมโนราห์ เป็นผู้ที่มีสติปัญญาความปราดเปรื่องเฉียบแหลม รู้จักพิจารณาไตร่ตรองสิ่งต่างๆ ได้อย่างรอบคอบ รู้จักใช้สติปัญญาในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดี เป็นคนที่มีเหตุผล
๔.๔ ความสามารถของนางมโนราห์
               นางมโนราห์ มีความสามารถ คือ นางสามารถบินได้ เพราะนางเป็นกินรี นางสามารถเสกของวิเศษได้ จากตอนที่นางหนีมาจากเมืองแล้ว นางได้เสกของฝากพระฤๅษี มีดังนี้ ผ้าก้มพลกับแหวน แล้วบอกว่า ถ้าพระสุธนมาถามขอให้มอบของสองอย่างนี้ให้
                จากที่มีผู้วิเคราะห์ไว้ ดิฉันมีความเห็นตรงกับผู้วิเคราะห์ เพราะนางสมารถให้สติปัญญาได้เป็นอย่าง แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้เพราะนางมีสติอยู่กับตัวตลอด ไม่ตื่นเต้นตกใจอะไรง่าย พูดถึงนางแล้วนั้นนางงามทั้งรูปสมบัติ และคุณสมบัติ เหมาะกับการเป็นลูกของกษัตริย์จริงๆ นางเหมาะสมที่จะเป็นนางในวรรณคดีที่สำคัญคนหนึ่ง              
  จาก การศึกษาวิเคราะห์ตัวละคร นางมโนราห์เป็นตัวละครที่มีรูปโฉมงดงาม เกิดในชาติตระกูลสูง และมีคุณธรรมในการดำเนินชีวิต ซึ่งการสร้างตัวละครให้มีลักษณะเช่นนี้ก็เพื่อให้ตัวละครเป็นตัวแทนของความ ดีหรือเป็นสัญลักษณ์ของความดี เพื่อให้ผู้อ่านจะได้เลียนแบบปฏิบัติตามการกระทำที่ดีของตัวละครคือ นางมโนราห์   นางมโนราห์นับได้ว่าเป็นตัวละครที่ได้สอดแทรกคติ ธรรมคำสอนไว้อย่างแนบเนียน ซึ่งล้วนแต่เป็นประโยชน์ต่อดำรงชีวิตแก่ผู้ที่ศึกษาได้อย่างดี แล้วยังมีแนวคิดเรื่องกฎแห่งกรรม และแนวคิดเรื่องย่อยคือ เรื่องสติปัญญาและความรอบคอบ การพลัดพรากจากสิ่งที่รักแล้วเป็นทุกข์  ความกตัญญู ความรักและความซื่อสัตย์  และการรู้จักให้อภัย ซึ่งจะเห็นได้ว่าเรื่องนี้ให้คุณค่าแก่บุคคลที่ศึกษามาก และสามารถนำมาปรับใช้กับชีวิตประจำวันของตนเองได้
                                                        นางในวรรณคดีไทย : มัทนา จาก มัทนพาธา
                                                             มัทนา จาก มัทนพาธา
        วรรณคดีเรื่องมัทนะพาธา หรือ ตำนานดอกกุหลาบของไทยเป็นบทพระราชนิพนธ์ละครพูดคำฉันท์ ๕ องค์ ในสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาล ที่๖ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งทรงพระราชนิพนธ์ตามจินตนาการที่มีพระราชดำริขึ้นในพระราชหฤทัย
        มัทนะพาธา เป็นเรื่องราวของเทพธิดามัทนา นางฟ้าผู้ที่มีรูปโฉมงดงามมาก จนความงามนั้นส่งผลร้ายแก่ตนเอง ต้องถูกสาปให้จุติลงมาเกิดเป็นต้นกุหลาบต้นแรกบนโลกมนุษย์ เทพธิดา มัทนาเป็นตัวละครเอกของเรื่องที่มีความสำคัญในการดำเนินเรื่อง

. บทบาทของเทพธิดามัทนาในมัทนะพาธา
                ๑.๑ บทบาทในการดำเนินเรื่อง
                                มัทนาเป็นตัวละครที่มีความสำคัญที่สุดในบทละครเรื่องมัทนะพาธานี้  เนื่องจากนางมีบทบาทมากในการเชื่อมโยงตัวละครอื่นๆให้เข้ามามีบทบาทในเหตุการณ์ความขัดแย้งที่มีสาเหตุมาจากความรัก ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ตัวละครในเรื่องนี้ล้วนแต่ได้รับความเจ็บปวดและเดือดร้อนเพราะความรัก โดยเฉพาะ นางมัทนาที่มีชื่อมาจากคำว่า มทน ที่มีความหมายว่าความลุ่มหลง หรือความรัก เป็นตัวละครที่ได้รับความเจ็บปวดและเดือดร้อนจากความรักมากที่สุด เพราะนางมัทนาเป็นทั้งผู้รักและผู้ถูกรักแต่ก็ไม่สมหวังในความรักสาเหตุของการที่มัทนาต้องเกี่ยวพันกับความรักมากมายเช่นนี้ เพราะมัทนาเป็นนางฟ้าที่มีรูปโฉมงดงาม จนเทพบุตรสุเทษณ์ติดตาตรึงใจ และใคร่จะได้นางเป็นชายา แต่มัทนาไม่เคยสนใจสุเทษณ์ เพราะได้ตั้งปณิธานไว้ว่าจะครองคู่กับชายที่ตนรักเท่านั้น ดังที่ปรากฏในความตอนหนึ่งของเรื่องความว่า

                                                หม่อมฉันนี้เปนผู้ถือ                               สัจจาหนึ่งคือ
                                                ว่าแม้มิรักจริงใจ                                      ถึงแม้จะเปนชายใด
                                                ขอสมพาศไซร้                                        ก็จะมิยอมพร้อมจิต

              ความตั้งใจของมัทนาดังกล่าวทำให้สุเทษณ์โกรธมากเพราะเขาเฝ้าวิงวอนขอความรักจากนางเป็นเวลานานทั้งๆที่สุเทษณ์ในฐานะของหัวหน้าหรือผู้นำเหล่าเทวดาและนางฟ้าทั้งหลายอาจจะใช้อำนาจบังคับมัทนาก็ย่อมได้ แต่การที่สุเทษณ์อ้อนวอนขอให้มัทนารับรักก็เพื่อเป็นการแสดงให้-เห็นว่าเขารักมัทนาอย่างจริงใจ แต่เมื่อมัทนาปฏิเสธรักเขาโดยไม่มีเยื่อใย จึงทำให้เขาต้องใช้อำนาจสาปนางให้จุติลงมาเป็นต้นกุหลาบบนโลกมนุษย์
               เมื่อมัทนามาเกิดเป็นต้นกุหลาบยังโลกมนุษย์และสามารถกลายร่างเป็นหญิงสาวได้เมื่อถึงคืนวันเพ็ญเป็นเวลาหนึ่งวันหนึ่งคืน ทำให้นางได้มีโอกาสพบรักกับท้าวชัยเสน และกลายร่างเป็นมนุษย์โดยไม่ต้องกลับไปเป็นต้นกุหลาบอีก
               ชีวิตคู่ของมัทนากับท้าวชัยเสนดำเนินไปด้วยดี จนกระทั่งท้าวชัยเสนพามัทนากลับมายัง  นครหัสตินาปุระ เมื่อความทราบถึงพระนางจัณฑีผู้เป็นมเหสีของท้าวชัยเสน พระนางจัณฑีจึงเกิดความโกรธและหึงหวงจึงวางอุบายกำจัดมัทนา
               เมื่อท้าวชัยเสนหลงเชื่อกลอุบายที่พระนางจัณฑีใช้เพื่อกำจัดมัทนาแล้วจึงสั่งประหารมัทนาและศุภางค์ทหารคนสนิทของตนเพราะคิดว่าทั้งสองลักลอบเป็นชู้กัน เหตุการณ์ทุกอย่างจึงเป็นไปตามแผนการของพระนางจัณฑี แต่ทหารที่ได้รับคำสั่งให้ประหารมัทนากับศุภางค์นั้นกลับปล่อยตัวทั้งสองคนไป เพราะทราบว่าทั้งสองไม่ได้มีความผิดและถูกให้ร้าย
                มัทนากลับสู่ป่าหิมะวัน และบำเพ็ญเพียรเพื่ออ้อนวอนให้สุเทษณ์ช่วยเหลือ เมื่อสุเทษณ์มาถึงก็มาขอความรักจากมัทนาอีก แต่นางปฏิเสธโดยให้เหตุผลอย่างอ่อนหวานน่าเห็นใจว่า

                                                อันจะทรงพระกรุณา                               ณข้าฉะนั้น,
                                                เป็นพระคุณดนุจะพรร-                          ณะนาบได้;
                                                หากจะมีวิถิถนัด                                      บขัดหทัย,
                                                ทั้งจะใช้ณธุระใด                                    บมีระอา,
                                                แต่จะโปรดดนุและให้                            คระไลนภา
                                                เป็นพระบาทะบริจา-                              ริกาฉะนี้,
                                                เกรงจะผิดพระนิติธรร-                           มะอันนะรี
                                                เสพย์กะสองบุรุษะมี                               ฤใครจะชม?

                เมื่อสุเทษณ์ได้ฟังเหตุผลรวมทั้งคำอ้อนวอนให้สุเทษณ์ช่วยให้นางได้ครองรักกับท้าวชัยเสนอีก เพราะท้าวชัยเสนเป็นชายเดียวที่นางรักและไม่คิดจะเปลี่ยนใจ คำขอของนางทำให้สุเทษณ์บันดาลโทษะ จึงได้สาปให้นางเป็นต้นกุหลาบตลอดชั่วนิรันดร
                บทบาทของมัทนาที่กล่าวไว้ข้างต้นตั้งแต่เป็นผู้ถูกรักมัทนาก็เริ่มได้รู้จักความทุกข์จากความรักเพราะมัทนาไม่อาจรับรักสุเทษณ์ได้ จึงถูกสาปให้เป็นต้นกุหลาบ เมื่อมัทนาเป็นผู้รักท้าวชัยเสน เริ่มแรกก็มีความสุขจนกระทั่งพระนางจัณฑีทราบเรื่องจึงใส่ร้ายนางด้วยความหึงหวง เพราะความรักที่พระนางจัณฑีมีต่อท้าวชัยเสน มัทนาจึงต้องเดือดร้อนเพราะความรักอีกครั้ง และเมื่อได้พบกับสุเทษณ์ที่มาขอความรักจากมัทนาอีกครั้ง แต่เมื่อมัทนาปฏิเสธอีก มัทนาจึงต้องได้รับความเจ็บปวดจากความรักครั้งที่รุนแรงที่สุด เพราะนางต้องถูกสาปให้เป็นต้นกุหลาบตลอดไป นางจึงไม่สมหวังในความรัก
                เมื่อพิจารณาถึงบทบาทในการดำเนินเรื่องของมัทนาในเรื่องดังที่กล่าวมาแล้วจะเห็นว่า บทบาทที่ปรากฏของมัทนามีความสัมพันธ์กับความหมายของชื่อที่ว่า ความลุ่มหลงและความรัก เพราะมัทนาทำให้    สุเทษณ์ลุ่มหลง ทำให้ท้าวชัยเสนหลงรัก และนางก็เจ็บปวดเพราะรักท้าวชัยเสน  อีกทั้งยังทำให้    พระนางจัณฑีเกิดความหึงหวงเพราะความรักที่พระนางจัณฑีมีต่อท้าวชัยเสน มัทนาจึงต้องเดือดร้อนเพราะความลุ่มหลงและความรัก ซึ่งสอดคล้องกับความหมายของชื่อ มัทนา ที่แปลว่า ความลุ่มหลง หรือความรัก นั่นเอง                ๑.๒ ชะตาชีวิต
                                ชะตาชีวิตของมัทนาในมัทนะพาธานั้นนับว่าน่าสงสารมาก เพราะชะตาชีวิตที่ต้องถูกทำร้ายทั้งที่นางไม่มีความผิดใดเลย เริ่มจาก
                                ๑. การที่เทพบุตร์สุเทษณ์มีความรักใคร่ในตัวเทพธิดามัทนามาก แต่นางมัทนาไม่ใยดีต่อความรักของสุเทษณ์ สุเทษณ์จึงเกิดความทุกข์ระทมใจและเกิดความกริ้วจึงสาปให้มัทนามาเกิดเป็นกุหลาบยังโลกมนุษย์
                          ๒. ข้ออนุญาตของคำสาปที่ให้มัทนากลายเป็นมนุษย์ได้ในคืนวันเพ็ญกลางเดือนเป็นเหตุให้ได้พบกับท้าวชัยเสนจนเกิดความรักต่อกัน ท้าวชัยเสนได้ขอและทำพิธีอภิเษกกับนางมัทนาทั้งที่ท้าวชัยเสนมีมเหสีอยู่แล้ว
                          ๓. เมื่อท้าวชัยเสนนำนางมัทนาเข้ามายังนครแล้ว ทำให้นางจัณฑีมเหสีองค์เก่าไม่พอใจ จึงคิดหาทางกลั่นแกล้งจนทำให้ท้าวชัยเสนเข้าใจนางมัทนาผิด และเป็นเหตุให้นางมัทนาต้องออกจากเมืองไปอยู่ป่ากับพระมุนีตามเดิม ทั้งที่มัทนาไม่มีความผิดใด
                          ๔. มัทนาได้รับความทุกข์อย่างหนักจากการวางอุบายของพระนางจัณฑี เมื่อนางกลับไปอยู่ป่านางพยายามอ้อนวอนเทพบุตร์สุเทษณ์ เพื่อขอร้องให้ช่วยดลใจท้าวชัยเสนให้มารับตัวนางกลับเข้าเมือง แต่เมื่อสุเทษณ์ลงมาจากสวรรค์กลับมาขอความรักจากนาง เมื่อนางปฏิเสธสุเทษณ์เกิดความกริ้วจึงสาปให้นางกลายเป็นต้นกุหลาบชั่วนิรันดร ท้าวชัยเสนมาถึงก็สายไปเสียแล้ว
                จุดที่สำคัญของเรื่องเกี่ยวกับชะตาชีวิตของมัทนาอยู่ที่คำสาปของสุเทษณ์ ด้วยคำสาปนั้นได้มีข้ออนุญาตให้ต้นกุหลาบกลับกลายร่างเป็นมนุษย์ ได้เป็นเวลาวันหนึ่งกับคืนหนึ่งในคืนวันเพ็ญ และถ้าแม้นว่านางมัทนามีความรักใคร่ในชายใด ก็อนุญาตให้คงรูปเป็นมนุษย์อยู่ได้ตลอดไป ข้ออนุญาตนี้เป็นการให้โอกาสให้มัทนากลับกลายร่างเป็นนางงามมีชีวิตจิตใจและมีความรักได้ ฉะนั้นเมื่อได้กลายร่างเป็นมนุษย์ในคืนวันเพ็ญและได้พบกับท้าวชัยเสนความรักก็บังเกิดขึ้น ด้วยข้ออนุญาตในคำสาปของสุเทษณ์นี้เอง ทำให้ชะตาชีวิตของมัทนาดำเนินต่อไปจนถึงตอนจบของเรื่องซึ่งเป็นแบบโศกนาฏกรรม
                ชะตาชีวิตของมัทนานี้ดำเนินไปตามชะตากรรมที่มีสาเหตุมาจากความลุ่มหลงและความรัก
                ชะตากรรมที่มีสาเหตุมาจากความลุ่มหลงก็คือ ตอนที่สุเทษณ์เกิดความลุ่มหลงในความงามของมัทนา แต่มัทนาไม่รักตอบ มัทนาจึงถูกสาปให้มาเกิดเป็นกุหลาบยังโลกมนุษย์ ทั้งที่มัทนาไม่มีความผิด
                ชะตากรรมที่มีสาเหตุมาจากความรัก ก็คือ ด้วยความรักของพระนางจัณฑีที่มีต่อท้าวชัยเสน จึงเกิดความหึงหวง และเกิดความอิจฉาริษยาจนต้องวางอุบายใส่ร้ายมัทนา จนเป็นเหตุให้มัทนาต้องถูกสั่งประหารชีวิตทั้งที่นางไม่มีความผิด                และด้วยความรักที่มั่นคงของมัทนาที่มีต่อท้าวชัยเสน ก็เป็นเหตุให้มัทนาต้องถูกสาปเป็นต้นกุหลาบชั่วนิรันดร
          จะเห็นได้ว่าทั้งที่มัทนาไม่ได้มีความผิดใดเลยแต่ชะตาชีวิตก็ดำเนินไปตามชะตากรรมที่ผู้อื่นเป็นผู้ลิขิตและทำร้าย โดยที่ทุกอย่างมีสาเหตุมาจาก ความลุ่มหลงและความรักนั่นเอง
                                  
                                                         นางในวรรณคดีไทย : อันโดรเมดา  จาก วิวาห์พระสมุทร
                                                       อันโดรเมดา จาก วิวาห์พระสมุทร
      อันโดรเมด้าคือเจ้าหญิงของเอธิโอเปียและ ต่อมาเปอร์เซอุสได้แต่งงานกับเธอกลายเป็นราชินีแห่งเมืองกรีกโบราณในที่ราบแห่งอาร์กอส และภายหลังจากที่เธอตายก็กลายเป็นกลุ่มดาวหนึ่งในกาแล็กซี่ โดยตำนานได้กล่าวว่า แม่ของอันโดรเมดาคือนางแคสซิโอเปีย ภูมิใจในความงดงามของหล่อนเองมาก ดังนั้นราชินีของเอธิโอเปียได้คุยโวว่าดีกว่าพวกเทพทั้งหมดโดยเฉพาะว่าเธอได้เปรียบเทียบความงดงามของเธอกับนาง NEREIDS ที่อมตะ.ทำให้NEREIDS โกรธเป็นอันมาก และพยายามกลั้นแกล้งโดยการส่งน้ำท่วมสัตว์ทะเลเพื่อทำลายประเทศเอธิโอเปียซะ

ต่อมาได้มีนักพยากรณ์หรือปุโรหิตหรือผู้มีความรู้นี่แหละได้เสนอแนะว่าถ้าอยากให้ความหายนะครั้งใหญ่ให้หายไป เพียงแต่ให้ลูกสาวของราชินีอันโดรเมดาถูกทิ้งให้กับสัตว์ประหลาดในฐานะผู้ถูกสังเวย. ราชาCepheus รู้สึกเสียพระทัยและไม่สมัครใจให้อุทิศลูกสาวของเขาถูกสัตว์ แต่หมดหวังเพราะชาวเอธิโอเปียบังคับให้ทำอย่างนั้นตามที่ผู้วิเศษบอก ดังนั้นอันโดรเมดาต้องยอมเป็นของสังเวยเพื่อชำระการลงอาญาจากคำโอ้อวดของแม่ของเธอเอง โดยถูกล่ามโซ่ที่ก้อนหินใกล้ทะเลเพื่อสัตว์ประหลาดที่กำลังทำลายเอธิโอเปียได้มาฆ่าเธอ.

ในเวลาต่อมาที่อันโดรเมดาถูกล่ามโซ่อยู่ที่หน้าผาอยู่นั้น เปอร์เซอุสที่ได้ใส่รองเท้าสานโปร่งที่ถูกติดปีกบินของ เฮอร์เมส . เหาะผ่านมาเห็น และหลงรักนางและความดีของนางที่ยอมเสียสละเพื่อประชาชนของนาง เปอร์ซีอุสจึงได้ขั้นอาสาช่วยเหลือนางกับพระราชา โดยพระราชาทำตามเงื่อนไขทุกประการที่เสนอมา ดังนั้นเปอร์ซีอุสได้เหาะไปสังหารสัตว์ประหลาดโดยฉับพลันอย่างง่ายดาย โดยเปอร์เซอุส1 ทำการโจมตีสัตว์ประหลาดทะเลจากข้างบน จนกระทั่งมันพ่นเลือด---จากนั้นเขาก็ใช้กระบี่ของเขาพุ่งเข้าไปในสัตว์ประหลาดตัวนั้นตายไป (บางตำนานบอกว่าได้ใช้หัวเมดูซ่าจัดการทำให้สัตว์ประหลาดเป็นหิน) หลังจากที่ช่วยเหลือนางได้สำเร็จ เขากล่าวยืนยันว่าอันโดรเมดาและคือรางวัลของเขาและละทิ้งสินเดิมที่ผู้ปกครองของเธอเสนอเขา และได้อภิเษกกันในที่สุด
อย่างไรก็ตามในขณะที่เปอร์เซอุสกำลังเฉลิมฉลองการแต่งงานของเขา Phineusที่หมั้นอันโดรเมดาก่อนไว้หน้านี้ ได้เป่าประกาศด้วยความไม่พอใจกับแขกที่มาแสดงความยินดีกับเปอร์ซีวุสว่าเขาขโมยเจ้าสาวของเขา. (PhineusคือลูกชายของBelus 1และAnchinoeและพี่น้องของราชา) สร้างความไม่พอใจให้กับเปอร์ซีอุสเป็นอันมาก เขาจึงได้เอาเมดูซ่ายกให้Phineusและทหารที่ติดตามมากลายเป็นหินจนหมด
                            
                                                         นางในวรรณคดีไทย : ตะเภาทอง จาก ไกรทอง
                                                            ตะเภาทอง จาก ไกรทอง 
มาจากนิทานพื้นบ้านภาคกลาง พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระราชนิพนธ์เป็นบทละครนอก นางตะเภาทองเป็นสาวงามลูกเศรษฐีเมืองพิจิตร มีพี่สาวฝาแผด ชื่อ นางตะเภาแก้ว เมื่อคราวพญาจระเข้ชื่อ ชาละวัน ออกอาละวาดในแม่น้ำ ได้คาบตัวนางตะเภาทองไป เศรษฐีผู้พ่อจึงประกาศหาคนช่วยปราบชาละวันและพาตะเภาทองกลับมา ถ้าทำสำเร็จจะยกลูกสาวทั้งสองคนให้พร้อมยกสมบัติให้ครึ่งหนึ่ง ในที่สุดได้ไกรทองอาสามาปราบจนสำเร็จ
เนื้อเรื่อง
มีถ้ำอยู่ในแม่น้ำแห่งหนึ่ง ภายในถ้ำมีพญาจระเข้ตัวหนึ่งชื่อ พญาชาละวัน มีนางจระเข้สองตัวเป็นภรรยา คือ นางวิมาลา และนางเลื่อมลายวรรณ สามารถจะกลายร่างเป็นมนุษย์ได้ พญาชาละวันมีนิสัยดุร้าย และชอบกินเนื้อมนุษย์ไม่เหมือนกับจระเข้ที่เป็นปู่ คือท้าวรำไพที่ถือศิลภาวนาไม่กินสิ่งมีชีวิต
วันหนึ่ง พญาชาละวันออกมาจากถ้ำเพื่อหาเนื้อมนุษย์กินเป็นอาหาร ได้ว่ายตามน้ำมาจนถึงท่าน้ำเมืองพิจิตร ได้พบสองสาวพี่น้อง ตะเภาแก้วและตะเภาทอง บุตรสาวเจ้าเมืองพิจิตรเล่นน้ำอยู่ในแม่น้ำหน้าบ้านของตนอยู่พอดี ความงามของตะเภาทอง เป็นที่ต้องตาต้องใจจึงเข้าไปคาบนางไปสู่ถ้ำของตนแล้วกลายร่างเป็นชายหนุ่มรูปงาม และเกี้ยวพาราสีนางจนนางหลงรักและตกเป็นภรรยาคนที่สาม ทำให้เกิดการทะเลาะวิวาทกันระหว่างภรรยาทั้งสามในขณะเดียวกันเจ้าเมืองพิจิตรได้ป่าวประกาศหาคนที่สามารถสังหารจระเข้และนำลูกสาวกลับมาในขณะมีชีวิตได้ จะได้แต่งงานกับนางและได้ส่วนแบ่งในทรัพย์สมบัติของตน "ไกรทอง" เป็นชายหนุ่มอายุ 18 ปีเป็นชาวเมืองนนทบุรีได้อาสาปราบชาละวันเพราะได้เล่าเรียนวิชาอาคมมีความชำนาญในการปราบจระเข้และสามารถระเบิดน้ำเป็นทางเดินเข้าไปได้ ไกรทองมีของวิเศษ 3 อย่างที่อาจารย์ให้ไว้ คือ เทียนชัย มีดหมอลงอาคม และหอกสัตตะโลหะ เพื่อใช้ปราบจระเข้
คืนนั้นพญาชาลาวันฝันไม่ดี จึงรีบไปปรึกษาปู่ คือท้าวรำไพผู้ซึ่งรู้ว่าหลานของตนกำลังชะตาขาด จึงให้ชาละวันจำศีลอยู่ในถ้ำเป็นเวลา 7 วัน ชาละวันเกิดความกลัวจึงสั่งให้บริวารจระเข้นำหินมาปิดปากถ้ำไว้อย่างแน่นหนา และเริ่มถือศีล ไกรทองได้ต่อแพลอยลงน้ำและประกอบพิธีเรียกชาละวันมาต่อสู้ เมื่อสุดจะทนชาละวันจึงแผลงฤทธิ์พังประตูถ้ำกลายเป็นจระเข้ใหญ่ ทั้งคู่ต่อสู้กันจนในที่สุดชาลาวันก็เพลี่ยงพล้ำถูกแทงบาดเจ็บและหนีกลับไปยังถ้ำ ไกรทองจึงตามไปที่ถ้ำและได้เห็นวิมาลาจึงลวนลาม เพื่อยั่วให้ชาลาวันออกมาที่ซ่อน เสียงหวีดร้องของวิมาลาทำให้ชาลาวันออกมาจากที่ซ่อน แล้วถูกแทง ไกรทองสามารถช่วยตะเภาทองได้ เจ้าเมืองพิจิตรจึงมอบรางวัลให้ไกรทองตามสัญญาพร้อมกับยกลูกสาว อีกคนหนึ่งคือตะเภาแก้วให้เป็นภรรยาของไกรทองด้วย ไกรทองจึงได้สองพี่น้องเป็นภรรยาพร้อมกับสมบัติอีกส่วนหนึ่งจากท่านเจ้าเมือง ทั้งสามจึงใช้ชีวิตอยู่ในเมืองพิจิตรอย่างมีความสุข
                                                        นางในวรรณคดีไทย : ไอ่คำ  จาก ผาแดง-นางไอ่
                                                           ไอ่คำ จาก ผาแดง-นางไอ่
ตำนานพื้นบ้านเรื่องผาแดง-นางไอ่ มีความโดยย่อ คือ นางไอ่เป็นธิดาพระยาขอมผู้ครองเมืองชะธีตา นางไอ่เป็นสตรีที่มีสิริโฉมงดงามเป็นที่เลื่องลือไปในนครต่างๆ ทั้งโลกมนุษย์และบาดาล มีชายหนุ่มหมายปองจะได้อภิเษกกับนางมากมาย 
          ในจำนวนผู้ที่มาหลงรักนางไอ่ มีท้าวผาแดงและท้าวพังคี โอรสสุทโธนาค เจ้าผู้ครองนครบาดาล ท้าวทั้งสองต่างเคยมีความผูกพันกับนางไอ่มาแต่อดีตชาติ จึงต่างช่วงชิงจะได้เคียงคู่กับนาง แต่ก็พลาดหวัง จึงมิได้อภิเษกทั้งคู่เพราะแข่งขันบั้งไฟแพ้
          ท้าวพังคีนาคไม่ยอมลดละ แปลงกายเป็นกระรอกเผือกคอยติดตามนางไอ่ สุดท้ายถูกฆ่าตาย พญานาคผู้เป็นพ่อจึงขึ้นมาถล่มเมืองล่มไป กลายเป็นหนองน้ำใหญ่ คือ หนองหาน
          ครั้งหนึ่ง ยังมีเมืองอยู่เมืองหนึ่งชื่อ "นครเอกชะทีตา" มีพระยาขอม
เป็นกษัตริย์ปกครองเมืองด้วยความร่มเย็น พระยาขอมมีพระธิดาสาวสวย
นามว่า "นางไอ่คำ" ซึ่งเป็นที่รักและ หวงแหนมาก จึงสร้างปราสาท 7 ชั้น
ให้ อยู่พร้อมเหล่าสนม กำนัล คอยดูแลอย่างดี

ขณะเดียวกันยังมีเมืองอีกเมืองหนึ่งชื่อ "เมืองผาโพง" มีเจ้าชายนามว่า "ท้าวผาแดง" เป็นกษัตริย์ปกครองอยู่ ท้าวผาแดง
แห่งเมืองผาโพง ได้ยินกิตติศัพท์ความงามของธิดาไอ่คำมาก่อนแล้ว ใคร่อยากจะเห็นหน้า จึงปลอมตัวเป็นพ่อค้าพเนจร ถึง นครเอกชะทีตา และติดสินบนนางสนมกำนัล ให้นำของขวัญลอบเข้าไปให้นางไอ่คำ ด้วยผลกรรมที่ผูกพันกันมาแต่ชาติ ปาง ก่อนนางไอ่คำกับท้าวผาแดง จึงได้มีใจปฏิพัทธ์ต่อกัน จนในที่สุดทั้ง 2 ก็ได้อภิรมย์สมรักกัน


ก่อนท้าวผาแดงจะจากไป เพื่อจัดขบวนขันหมากมาสู่ขอ ทั้ง 2 ได้คร่ำครวญต่อกันด้วยความอาลัยยิ่ง วันเวลาผ่านไปถึง
เดือน 6 เป็นประเพณีแต่โบราณของเมืองเอกชะทีตา จะต้องมีการทำบุญบั้งไฟบูชาพญาแถนระยาขอม จึงได้ประกาศบอก
ไปตามหัวเมืองต่างๆ ว่า บุญบั้งไฟปีนี้จะเป็นการหาผู้ที่จะมาเป็นลูกเขยอีกด้วย ขอให้เจ้าชายหัวเมืองต่างๆ จัดทำบั้งไฟมา
จุดแข่งขันกัน ผู้ใดชนะก็จะได้อภิเษกกับพระธิดาไอ่คำด้วย

ข่าวนี้ได้ร่ำลือไปทั่วสารทิศ ทุกเมืองในขอบเขตแว่นแคว้นต่างก็ส่งบั้งไฟเข้ามาแข่งขัน เช่น เมืองฟ้าแดดสูงยาง
เมืองเชียงเหียน เชียงทอง แม้กระทั่งพญานาคใต้เมืองบาดาลก็อดใจไม่ไหว ปลอมตัวเป็นกระรอกเผือกมาดูโฉมงาม
นางไอ่คำด้วยในวันงานบุญบั้งไฟ

เมื่อถึงวันแข่งขันจุดบั้งไฟ ปรากฏว่า บั้งไฟท้าวผาแดงจุดไม่ขึ้นพ่นควันดำอยู่ถึง 3 วัน 3 คืน จึงระเบิดแตกออกเป็นเสี่ยงๆ
ทำให้ความหวังท้าวผาแดงหมดสิ้นลง

ขณะเดียวกัน ท้าวพังคีพญานาค ที่ปลอมเป็นกระรอกเผือก มีกระดิ่งผูกคอน่ารัก มาไต่เต้นไปมาอยู่บนยอดไม้ ข้างปราสาท
นางไอ่คำ ก็ปรากฏร่างให้นางไอ่คำเห็น นางจึงคิดอยากได้มาเลี้ยง แต่แล้วก็จับไม่ได้ จึงบอกให้นายพราน ยิงเอาตัวตายมา
ในที่สุดกระรอกเผือกพังคีก็ถูกยิงด้วยลูกดอกจนตาย ก่อนตายท้าวพังคีได้อธิษฐานไว้ว่า "ขอให้เนื้อของข้าได้แปดพันเกวียน
คนทั้งเมืองอย่าได้กินหมดเกลี้ยง"

จากนั้นร่างของกระรอกเผือกก็ใหญ่ขึ้น จนผู้คนแตกตื่นมาดูกัน และจัดการแล่เนื้อแบ่งกันไปกินทั่วเมืองด้วยว่าเป็นอาหาร ทิพย์ ยกเว้นแต่พวกแม่ม่ายที่ชาวเมืองรังเกียจ ไม่แบ่งเนื้อกระรอกให้

พญานาคแห่งเมืองบาดาลทราบข่าวท้าวพังคีถูกมนุษย์ฆ่าตาย แล่เนื้อไปกินกันทั้งเมือง จึงโกธรแค้นยิ่งนัก ดึกสงัดของคืนนั้นขณะที่ชาวเมืองชะทีตากำลังหลับไหล เหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น ท้องฟ้าอื้ออึงไปด้วยพายุฝนฟ้า กระหน่ำลงมาอย่างหนัก ฟ้าแลบอยู่มิได้ขาด แผ่นดินเริ่มถล่มยุบตัวลงไปทีละน้อย ท่ามกลางเสียงหวีดร้องของผู้คนที่วิ่งหนี ตาย เหล่าพญานาคผุดขึ้นมานับหมื่น นับแสนตัว ถล่มเมืองชะทีตาจมลงใต้บาดาลทันที คงเหลือไว้เป็นดอน 3 - 4 แห่ง ซึ่งเป็นที่อยู่ของพวกแม่ม่าย ี่ไม่ได้กินเนื้อกระรอกเผือกจึงรอดตาย

ฝ่ายท้าวผาแดงได้โอกาสรีบควบม้าหนีออกจากเมือง โดยไม่ลืมแวะรับพระธิดาไอ่คำไปด้วย แต่แม้จะเร่งฝีเท้า ม้าเท่าใด ก็หนีไม่พ้นทัพพญานาคที่ทำให้แผ่นดินถล่มตามมาติดๆ ในที่สุดก็กลืนท้าวผาแดงและพระธิดาไอ่คำพร้อมม้าแสน
รู้ชื่อ "บักสาม" จมหายไปใต้พื้นดิน

รุ่งเช้าภาพของเมืองเอกชะทีตาที่เคยรุ่งเรืองโอฬาร ก็อันตธานหายไปสิ้น คงเห็นพื้นน้ำกว้างยาวสุดตา ทุกชีวิตในเมือง
เอกชะทีตาจมสู่ใต้บาดาลจนหมดสิ้น เหลือไว้แต่แม่ม่ายบนเกาะร้าง 3 - 4 แห่ง ในผืนน้ำอันกว้างนี้ ซึ่งต่อมาได้กลายเป็น
หนองหานหลวง ดังปรากฏในปัจจุบัน.
                                                      นางในวรรณคดีไทย : เพื่อนพี่แพงน้องสองสมร จาก พระลอ
                                                เพื่อนพี่แพงน้องสองสมร จาก พระลอ 
   ตำนานรักพระลอ ความว่า เดิมเจ้าราชวงศ์แมนสรวงกับเจ้าราชวงศ์สรองเป็นปรปักษ์ต่อกัน แต่โอรสและธิดาของ 2 เมืองนี้เกิดรักกันและยอมตายด้วยกัน ฝ่ายชายคือพระลอเป็นกษัตริย์แห่งเมืองแมนสรวง มีพระชายาชื่อนางลักษณวดี พระลอเป็นหนุ่ม รูปงามมากเป็นที่เลื่องลือไปทั่วจนทำให้พระเพื่อนพระแพงเกิดความรักและปรารถนาที่จะได้พระลอมาเป็นสวามี พี่เลี้ยงของพระเพื่อนพระแพง ชื่อนางรื่นนางโรย ได้ออกอุบายส่งคนไปขับซอยอโฉมพระเพื่อนพระแพงให้พระลอฟัง และให้ปู่เจ้าสมิงพรายทำเสน่ห์ให้พระลอเกิดความรักหลงไหลคิดเสด็จไปหานาง
ฝ่ายพระนางบุญเหลือชนนีของพระลอทราบ จึงหาหมอแก้เสน่ห์ได้ แต่ปู่เจ้า สมิงพรายได้เสกสลาเหิน(หมากเหิน) มาให้พระลอเสวยในตอนหลังอีก ถึงกับหลงไหลธิดาทั้งสองมากขึ้น จึงทูลลาชนนีและพระนางลักษณวดีไปยังเมืองสรอง พร้อมกับนายแก้วนายขวัญพี่เลี้ยง เมื่อมาถึงแม่น้ำกาหลงได้เสี่ยงทายกับแม่น้ำ แม่น้ำกลับวนและเป็นสีเลือด ซึ่งทายว่าไม่ดี แต่พระลอก็ยังติดตามไก่ที่ปู่เจ้าสมิงพรายเสกมนต์ล่อพระลอให้หลง เข้าไปในสวนหลวง แล้วแอบได้พระธิดาทั้งสองเป็นชายา นายแก้วนายขวัญก็ได้กับนางรื่นนางโรยพี่เลี้ยง
เมื่อพระพิชัยพิษณุกร พระบิดาของพระเพื่อนพระแพงทราบเรื่องก็ทรงกริ้ว แต่พอทรงพิจารณาเห็นว่าพระลอมีศักดิ์เสมอกันก็หายกริ้ว แต่พระเจ้าย่า(ย่าเลี้ยง) ของพระเพื่อนพระแพงโกรธมาก เพราะแค้นที่พระบิดาของพระลอได้ประหารท้าวพิมพิสาครสวามีในที่รบ พระเจ้าย่าถือว่าพระลอเป็นศัตรู จึงสั่งทหารให้ไปล้อมพระลอที่ตำหนักกลางสวน และสั่งประหารด้วยธนู ทั้งพระลอ พระเพื่อน พระแพง และนายแก้ว นายขวัญ นางรื่น นางโรย ร่วมกันต่อสู่ทหารของพระเจ้าย่า อย่างทรหด จนสุดท้ายถูกธนูตายในลักษณะพิงกัน ตายด้วยความรักทั้ง 3 องค์
ท้าวพิชัยพิษณุกร ทรงทราบว่าพระเจ้าย่าสั่งให้ทหาร ฆ่าพระลอพร้อมพระธิดาทั้งสององค์ ทรงกริ้วและสั่งประหารพระเจ้าย่า(เพราะมิใช่ชนนี)เสีย แล้วโปรดให้จัดการพระศพพระลอกับ พระธิดาร่วมกันอย่างสมเกียรติ และส่งทูตนำสาส์นไปถวายพระนางบุญเหลือ ชนนีของพระลอ ที่เมืองแมนสรวง สุดท้ายเมืองสรองกับเมืองแมนสรวงกลับมีสัมพันธไมตรีกันต่อมา
คติและแนวคิด
ตำนานรักพระลอเป็นนิยายพื้นบ้านที่ให้รสวรรณคดีทุกรส ได้แก่ ความรัก ความโศก กล้าหาญ และเสียสละ ทั้งยังสะท้อนให้เห็นถึงผลเสียของความแค้น ความอาฆาต พยาบาท ตลอดจนอนุภาพแห่งความรัก ที่เป็นอมตะรักของพระลอ พระเพื่อนพระแพง
                           
                                                      นางในวรรณคดีไทย : ศกุนตลา  จาก บทละครรำ ศกุนตลา  
                                                  ศกุนตลา จาก บทละครรำ ศกุนตลา
 ผู้แต่ง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ลักษณะการแต่ง บทละครพูด

เรื่องย่อ

                 พระวิความิตรเกิดนึกอยากมีฤทธิ์มากๆ จึงสละราชสมบัติ ออกบำเพ็ญตบะในป่าจนแก่กล้ายิ่ง ทำให้้เหล่าเทวดาพากันเดือดร้อนไปทั่ว พระอินทร์คิดแก้ไข โดยให้นางฟ้าเมนกา ลงมาใช้ความงามยั่วยวน เพื่อทำให้พระฤาษีตนนี้ไม่มีกะจิตกะใจจะบำเพ็ญเพียร ทั้งสองจึงครองคู่กัน จนกระทั่งให้กำเนิดธิดานางหนึ่ง พระวิศวามิตร

เมื่อผ่านพ้นระยะข้าวใหม่ปลามันเกิดคิดได้ จึงบอกนางเมนกากลับสวรรค์ ส่วนพระองค์ก็ออกไปจักรวาล
ทิ้งพระธิดาน้อยๆ อยู่ในป่าแต่เพียงลำพัง ยังดีที่ได้พวกนกคอยเลี้ยงดู เมื่อพระกัณวะดาบส มาพบเข้า จึงให้
นามนางว่าศกุณตลา ซึ่งแปลว่านางนก และนำกลับไปเลี้ยงดูอย่างธิดาที่อาศรมของตน ต่อมานางเติบโต
เป็นสาวแรกรุ่นที่งดงามอย่างหาที่ติไม่ได้

                 ต่อมานางได้พบกับท้าวทุษยันต์ กษัตริย์จันทรวงศ์ แห่งนครหัสดิน ซึ่งเสด็จประพาสป่าเพื่อล่าสัตว์ แล้วบังเอิญตามกวางมาถึงบริเวณใกล้เคียง จึงแวะมายังอาศรม หมายพระทัยจะมานมัสการพระกัณวะดาบส แต่ในตอนนั้นพระกัณวะดาบสไม่อยู่ เนื่องจากเดินทางไปบูชาพระเจ้าที่เทวสถาน เพื่อสะเดาะเคราะห์ให้แก่นาง
พวกปีศาจมารร้ายได้ถือโอกาสเข้ามาอาละวาดที่อาศรม รังควาญการบำเพ็ญเพียรของเหล่าพราหมณ์ผู้ศิษย์
พระกัณวะดาบส ท้าวทุษยันต์เสด็จมาปราบปีศาจได้สำเร็จ เมื่อท้าวทุษยันต์มีโอกาสอยู่ตามลำพัง ทั้งสองได้
เป็นของกันและกัน หลังจากทุกอย่างเป็นไปตามจุดมุ่งหมายแล้ว ท้ายทุษยันต์ได้มอบแหวนวงหนึ่งให้แก่นาง
แล้วรีบเดินทางกลับบ้านเมือง

               เช้าวันหนึ่งพระฤาษีทุรวาส ผู้มีปากร้ายได้มาเรียกนางที่หน้าประตู แต่นางไม่รู้ตัวด้วยกำลังป่วยเป็นไข้ใจจึงไม่ได้ออกไปต้อนรับ ทำให้พระฤาษีทุรวาสโกรธ สาปให้นางถูกคนรักจำไม่ได้ ต่อมาพระฤาษีทุรวาสหายโมโห แล้วจึงรู้ว่านางไม่ได้จงใจแสดงอาการไม่เคารพกับตน จึงให้พรกำกับแก่นางว่า หากคนรักของนางได้เห็นของที่ให้ไว้เป็นที่ระลึกก็จะจำนางได้

                 พระกัณวะดาบสได้ทราบเรื่องราวต่างๆของนางกับท้าวทุษยันต์ จึงส่งนางไปให้ท้าวทุษยันต์จัดพิธีีอภิเษก ในระหว่างทางนางทำแหวนที่ท้ายทุษยันต์ประทานให้ตกหายไปในแม่น้ำ เมื่อไปถึงที่หมาย ท้าวทุษยันต์จำนางไม่ได้ จนกระทั่งกุมภิล ชาวประมงจับได้ปลาที่กลืนแหวนนั้นไปจึงนำไป เมื่อท้าวทุษยันต์เห็นก็ได้สติ จำเรื่องราวต่างๆได้
สุดท้าย ท้าวทุษยันต์ก็ได้พบกับนางศกุนตลาอีกครั้ง หลังจากพลัดพรากจากกันไปเนิ่นนาน ด้วยความช่วยเหลือของพระเทพบิดรและพระเทพมารดร แล้วทั้งสองก็อยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข
                                                      นางในวรรณคดีไทย : รจนา  จาก สังข์ทอง
                                                              รจนา จาก สังข์ทอง
นางรจนา จากเรื่องสังข์ทอง เป็นธิดาสุดท้องจากจำนวนเจ็ดองค์ของท้าวสามล พี่ๆเลือกคู่ได้สามีสมนำ้สมเนื้อกันแล้ว แต่นางรจนากลับเลือกได้เจ้าเงาะ ทั้งๆที่ตนเป็นสาวสวย จึงเป็นที่เยาะเย้ยไปทั่ว ทำให้พระบิดากริ้วไล่ให้ไปตกระกำลำบากที่กระท่อมปลายนา แต่ความจริงที่นางเลือกก็เพราะเห็นรูปทองอยู่ข้างใน เจ้าเงาะถึงจะขี้ริ้วแต่ก็มีวิชาความรู้ จนต่อมาพระอินทร์ต้องแปลงร่างมาตีคลีเพื่อช่วยให้เจ้่าเงาะได้ถอดรูปให้ทุกคนได้เห็นรูปทองในที่สุด ดังนั้นสาวๆที่มีสามีขี้ริ้วจึงมักถูกว่าเป็นนางรจนาควงเจ้าเงาะ

  ไม่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์           ลัษณะนิสัยนางรจนา
นางรจนาลูกสาวคนสุดท้องของท้าวสามมล จิตใจดี ไม่มองคนเเต่ภายนอก
      ข้อมูลเชิงวิชาการ
เป็นบทละครที่สามารถนำมาศึกษา  ต่อไปได้หลายช่วงอายุคน
     นางรจนา จะ เป็นคู่ครองของพระสังข์
       ประโยชน์
สามารถนำไปศึกษาเป็นละครที่สนุกสนานได้เเละสามารถนำไปทำเป็นละคร
 นำสิ่งที่ดีของตัวละครไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
    ถิ่นกำเนิด
 เป็นลูกสาวท้าวสามลกันนางมณฑาท้าวสามลเป็นเจ้าเมืองพาราณสี
  วรรณคดีเกี่ยวข้อง
 นางรจนาเกี่ยวข้องกับเรื่องสังข์ทอง
  เกร็ดน่ารู้
นงรจนาเป็นู้หญิงที่มีจิตใจงดงาม ไม่มองคนที่รูปร่าวน่าตา
 เเละไม่ย้อท้อต่อความยากลำบาก
     สรุป
 ท้าวสามลให้ลูกๆทั้ง 7 เลือกคู่ จนกระทั่งเหลือลูกสาวคนสุดท้องคือนางรจนาที่ไม่
ยอมเลือกคู่ หลังจากนั้นอีกไม่กี่วันท้าวสามลด้สั่งให้นางรจนาเลือกคู่ใหม่
ก่อนนงรจนาจะโยนพวงมาลัยไปนางได้เห็นรูปงามของเจ้าเงาะที่มีรูปร่างงดงาม
เเต่เป็นที่ไม่พอใจยิ่งนักท่นางรจนาเลือกเจ้าเงาะน่าตาอัปลักมาเป็นคู่ครอง
ท้าวสามลจึงสั่งให้นางรจนาไปอยู่กระท่อมปลายนา
           แสนเอยแสนแขนง       น้อยหรือแกล้งตัดพ้อเล่นต่อหน้า
     ติเล็กติน้อยคอยนินทา           ค่อนว่าพิไรไค้แคะ
     พี่ก็ไม่หลีกเลี่ยงเถียงสักสิ่ง      มันก็จริงกระนั้นนั่นแหละ
     เจ้าเย้ยเยาะว่าเงาะไม่งามแงะ  แฮะแฮะว่าเล่นหรือว่าจริง
     อย่าประมาทรูปพี่เห็นขี้เหร่      ไม่ว่าเล่นเป็นเสน่ห์ชอบใจหญิง
     ชาวรั้วชาววังไม่ชังชิง    อุตส่าห์ทิ้งมาลัยมาให้เงาะ  

นางรจนา จากเรื่องสังข์ทอง เป็นธิดาสุดท้องจากจำนวนเจ็ดองค์ของท้าวสามล พี่ๆเลือกคู่ได้สามีสมนำ้สมเนื้อกันแล้ว แต่นางรจนากลับเลือกได้เจ้าเงาะรูปชั่วตัวดำ ทั้งๆที่ตนเป็นสาวสวย จึงเป็นที่เยาะเย้ยไปทั่ว ทำให้พระบิดากริ้วไล่ให้ไปตกระกำลำบากที่กระท่อมปลายนา แต่ความจริงที่นางเลือกก็เพราะเห็นรูปทองอยู่ข้างใน เจ้าเงาะถึงจะขี้ริ้วแต่ก็มีวิชาความรู้ จนต่อมาพระอินทร์ต้องแปลงร่างมาตีคลีเพื่อช่วยให้เจ้่าเงาะได้ถอดรูปให้ทุกคนได้เห็นรูปทองในที่สุด ดังนั้นสาวๆที่มีสามีขี้ริ้วจึงมักถูกว่าเป็นนางรจนาควงเจ้าเงาะ
เมื่อนั้น...ท้าวสามลผมฟูชูกำปั้น
ดุจกองทัพเยอรมันยันถล่ม
ดูซิดูรจนามันน่าชม
ไม่เหมาะสมไม่นิยมสักคนเดียว
ความโมโหโกรธาแทบล้มพับ
คว้าโทรศัพท์สั่งการพาลเสียงเขียว
เฮ้ย!...ตาเถรเสนามานี่เชียว
รจนามันลดเลี้ยวเที่ยววกวน


                                                     นางในวรรณคดีไทย : ลำหับ  จาก เงาะป่า  
                                                              ลำหับ จาก เงาะป่า
ประวัตินางลำหับ
        พระราชนิพนธ์ เรื่อง เงาะป่านี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๙ ขณะทรงพักผ่อนเมื่อประชวรเป็นไข้ พระองค์พระราชนิพนธ์บทละครเรื่องเงาะป่าเพื่อแก้รำคาญ โดยใช้เค้าเรื่องของชาวป่าที่ยายละมุดหญิงเผ่าซาไกเล่าถวายเมื่อครั้งเสด็จหัวเมืองปักษ์ใต้ ส่วนถ้อยคำภาษาของพวกเงาะทรงสอบถามจากนายคนัง เด็กชายชาวเงาะซึ่งพระองค์ทรงพระเมตตาซุบเลี้ยงไว้ ทรงพระราชนิพนธ์เพียง ๘ วันเท่านั้นก็เสร็จ โดยมิได้มีพระราชประสงค์ให้เล่นละคร ลักษณะการแต่ง ทรงพระราชนิพนธ์เป็นกลอนบทละครมีแนวเรื่องและฉากเหตุการณ์แตกต่างจากเรื่องอื่นๆ ให้ความรู้ในเรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลประเภทหนึ่งที่เรียกว่า เงาะตลอดจนภาษาของเขา ทั้งสำนวนกลอนก็ไพเราะลึกซึ้ง ในบางแห่งทรงพรรณนาได้งดงามกินใจ และในบางแห่งก็ทรงแทรกคติชีวิตไว้อย่างคมคายสำนวนโวหาร ใช้ภาษาแบบชาวบ้าน ชาวป่าและมีภาษาเงาะปนอยู่ด้วยให้ความรู้เกี่ยวกับภาษาวัฒนธรรม ชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเงาะด้วย
เนื้อเรื่อง
ซมพลารักอยู่กับนางลำหับ แต่ผู้ใหญ่ได้หมั้นหมายนางลำหับไว้กับฮเนา ในวันแต่งงาน ซมพลาได้พานางลำหับหนีไปซ่อนในถ้ำ ฮเนาติดตามไปพบซมพลาจึงได้ต่อสู้กัน ชมพลาเสียชีวิตเพราะถูกลูกดอกอาบยาพิษของรำแก้วพี่ชายฮเนา ลำหับซึ่งคอยชมพลาอยู่ในถ้ำออกติดตามพบซมพลาตายจึงฆ่าตัวตาตาม ฮเนาเห็นความรักของคนทั้งสองจึงตัดสินใจฆ่าตัวตายเพราะเสียใจที่ตนเป็น ต้นเหตุให้คนทั้งสองตาย
                                                      นางในวรรณคดีไทย : ละเวงวัณฬา จาก พระอภัยมณี
                                                      ละเวงวัณฬา จาก พระอภัยมณี
   นางละเวงวัณฬา เป็นธิดากษัตริย์เมืองลังกาและเป็นน้องของอุศเรน เมื่อพ่อและพี่ชายของนางตาย นางก็ครองเมืองแทนโดยมีตราราหูเป็นของวิเศษประจำตัว นางต้องการแก้แค้นแทนพ่อและพี่ชายจึงส่งภาพวาดของนางซึ่งทำเสน่ห์ไว้พร้อมกับแนบจดหมายชักชวนให้ทำศึกกับเมืองผลึกไปถึงเจ้าเมืองต่างๆ โดยสัญญาว่าถ้าใครมีชัยชนะนางพร้อมจะเป็นภรรยาและยกเมืองลังกาให้ครองด้วย บรรดาเจ้าเมืองเหล่านั้นหลงรูปของนางจึงยกทัพมารบกับเมืองผลึก แต่พ่ายแพ้ไปหมดทุกกองทัพ พระอภัยมณีจึงยกทพไปตีเมืองลังกาบ้าง นางละเวงใช้วิธีทำเสน่ห์ให้พระอภัยมณีหลงรักนาง แล้วนางก็ยุให้สู้รบกับกองทัพฝ่ายเมืองผลึก จนโยคีแห่งเกาะแก้วพิสดารมาเทศนาโปรด สันติสุขจึงกลับคืนมา เมื่อพระอภัยมณีออกบวช นางก็บวชตามไปปรนนิบัติรับใช้เช่นเดียวกับนางสุวรรณมาลี
บทประพันธ์ของพระศรีสุนทรโวหาร (สุนทรภู่) คำประพันธ์ประเภทกลอนสุภาพ เรื่องราวการผจญภัยของพระอภัยมณี และราชินีสาวแห่งชาติฝรั่งลังกา นางละเวงวัณฬา ธิดากษัตริย์เมืองลังกา เมื่ออายุ 16 ปี นางต้องสูญเสียบิดา และพี่ชายไปในสงคราม นางจึงมารับผิดชอบหน้าที่แทนบิดา และพี่ชาย เป็นราชินีที่เข้มแข็ง ทำสงครามและปกครองประเทศจนทำให้เกิดความรักระหว่างสงครามขึ้น
เนื้อเรื่อง
นางละเวงวัณฬาเธอเป็น 1 ใน 5 มเหสีของพระอภัยมณี เป็นศัตรูคู่อาฆาตกับ"นางสุวรรณมาลี"และ"พระอภัยมณี" เพราะนางสุวรรณมาลี เป็นพระราชธิดาของท้าวสิลราช เจ้าเมืองผลึก สลัดรักอุศเรน พระเชษฐาของนางละเวง เมื่อถูกตัดรัก อุศเรนจึงพกความแค้นยกทัพไปทำสงครามกับเมืองผลึก แต่เกิดพลาดท่าถูกพระอภัยมณี ที่เป็นคนรัก(ใหม่)ของนางสุวรรณมาลีจับเป็นเชลย เมื่อเจ้าลังกา พระบิดาของอุศเรนและนางละเวง ทราบความเรื่องนี้ ถึงกับตรอมพระทัยสวรรณคต นางละเวงวัณฬา เจ้าหญิงวัยสิบหก จึงขึ้นครองเมืองลังกาแทนพระราชบิดา ภารกิจแรกที่นางละเวงลงมือก็คือ"ล้างแค้น"ให้พระบิดาและพระเชษฐา นางละเวงเริ่มโดยให้ช่างวาดเขียนภาพนางด้วยการใช้สีผสมยาเสน่ห์ แล้วส่งไปตามเมืองต่างๆ ในภาพวาดนั้น นางประกาศว่าใครช่วยนางรบชนะพระอภัยมณี นางจะเลือกเป็นคู่อภิเษกสมรส
บุคคลแรกที่มาเจอรูปนางคือ "เจ้าละมาน" กษัตริย์พ่อหม้าย ที่เมื่อเห็นรูปนางละเวงก็รีบยกทัพออกจากเมืองไปทำสงครามกับพระอภัยมณี แต่กลับพลาดถ้าแพ้ต่อพระอภัยมณี ภาพวาดที่งดงามของนางละเวงจึงตกไปถึงมือพระอภัยมณี พลันที่เห็นภาพ พระอภัยมณีก็หลง(รูป)นางละเวงแทบเป็นบ้าเป็นหลัง โชคดีที่"สุดสาคร" บุตรของพระอภัยมณีที่เกิดจากนางเงือกมาแก้เสน่ห์ให้ พระอภัยจึงมีสติดีขึ้น และรวมกำลังกับศรีสุวรรณและ สินสมุทร เพื่อกำจัดนางละเวง
แต่จะรบกับนางละเวงนี่ไม่ใช่เรื่องง่าย สุนทรภู่เขียนว่า พระอภัยต้องจัดทัพถึง 9 กองทัพในการบุกลังกา คือ ทัพวิลยา ชวา ฉวี ละเมด มลิกัน สำปันหนา กะวิน จีนตั๋ง และอังกุลา จึงเอาชนะได้ที่สำคัญคือ "รบชนะ" แต่ยังมีเรื่องวุ่นวายตามมามากมายเพราะ "เสน่ห์" ของนางละเวงทั้งหลายทั้งปวงก็เพราะพระอภัยเองก็"หลงรัก"นางละเวง ขณะนางละเวงก็"หลงรัก"พระอภัยมณีสุนทรภู่เขียนถึง"จิตใจ"ของนางละเวงตอนจะรบกับพระอภัยมณี
"เมื่อต่างชาติศาสนาเป็นข้าศึก สุดจะนึกร่วมเรียงเคียงเขนย
ขอสู้ตายชายอื่นไม่ชื่นเชย จนล่วงเลยสู่สวรรค์ครรไล"
โชคดีที่เรื่องนี้จบลงเมื่อพระฤาษีแห่งเกาะแก้วพิสดารมาแก้อาถรรพ์ยาเสน่ห์ พร้อมเทศนาไกล่เกลี่ย
จนทั้งหมดละความอาฆาตพยาบาทและคืนดีกัน นางละเวงปิดฉากด้วยการยกบัลลังค์ให้ราชบุตร แล้วตัดสินใจบวชพร้อมนางสุวรรณมาลี เพื่อรับใช้พระอภัยมณี ณ เขาสิงคุตร์
ตามจิตนาการของสุนทรภู่ เขียนถึง"นางละเวง" ว่าเป็นสาวผมทอง ภาพของนางละเวงทุกจินตนาการจึงเป็น"ฝรั่ง" นางละเวง ชื่อเต็มๆคือ"ละเวงวัณฬา" แต่เรามักจะคุ้นกับชื่อ"นางละเวง" เป็น"ตัวละครหญิง"ที่อาจจะแตกต่างกับตัวละคร(หญิง)อื่นๆใน"พระอภัยมณี" เพราะสุนทรภู่เขียนไม่ให้เป็นกุลสตรีที่ละเมียดละไมอยู่กับเหย้าเฝ้ากับเรือนในวัง หรืออยู่ในภาพตกใจง่าย แถมเป็นหญิงสาวอ่อนหวานและอ่อนไหวแบบขี้ขลาด-ขี้กลัว เหมือนตัวละครหญิงคนอื่นนางละเวงถูกเขียนให้เป็นผู้กล้าหาญ ฉลาด เจ้าเล่ห์ สามารถแก้ไขปัญหาใหญ่ๆได้ รวมทั้งมีฝีมือในการรบทัพจับศึก และตัดสินใจเด็ดขาดถ้าจะมีลักษณะผู้หญิงอยู่บ้างก็ตรงที่"รัก"และ"หึงหวง" ซึ่งเป็นคุณสมบัติเฉพาะตัวของสตรีทั่วโลกทุกยุคทุกสมัย
                                                      นางในวรรณคดีไทย : ระเด่นบุษบา จาก อิเหนา
                                                          ระเด่นบุษบา จาก อิเหนา
                                                      นางในวรรณคดีไทย : ประทุมวดี  จาก ละครนอกเรื่องโสวัต
                                                  ประทุมวดี จาก ละครนอกเรื่องโสวัต

คลิปวีดิโอ  แนะนำนางในวรรณคดีไทย